จำเป็นหรือไม่ที่ต้องพิถีพิถันเลือกเนื้อผ้าเบรกและผู้ผลิตผ้าเบรกเพื่อรถของคุณ

 

จำ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเนื้อผ้าเบรกนอกจากจะมีผลต่อประสิทธิภาพการเบรกที่ผู้ขับต้องการแล้ว ผ้าเบรกแต่ละสูตรการผลิต มีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดยเฉพาะผ้าเบรกด้อยมาตรฐาน มีข้อเสียที่ผู้ใช้รถไม่ต้องการ เช่น

1) ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของโลหะสูงบางชนิด จะมีเขม่าดำในอัตราที่สูงมากในเขม่าดำ มีเศษโลหะ พวกผงเหล็กปะปนออกมาค่อนข้างสูงผสมในเขม่า คาร์บอนหรือ ผงยางหลัง จากการใช้เบรก หากผู้ขับขี่ไม่ทำความสะอาดในเวลาที่เหมาะสม ผงเหล็กเหล่านั้น จะก่อตัวเป็นสนิม อาจทำลายผิวของวงล้อได้


2) ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมโลหะสูงมีอัตราการทำลายจานเบรกมากกว่าผ้าเบรกที่มีส่วน ผสมของโลหะต่ำ และผ้าเบรกบางยี่ห้อสร้างเสียงรบกวนบ้าง หลังจากใช้งานผ่านไประยะหนึ่ง


3) ผ้าเบรกด้อยคุณภาพบางชนิดหลังจากผ้าเบรก โดนความร้อนมากๆจะเกิด อาการ แข็งตัว แตกร้าวและร่อนหลุดออกจากแผ่นรองผ้าเบรก

ผ้าเบรกที่นิยมในปัจจุบันมี 3 กลุ่ม คือ

1) ผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน
เหมาะสำหรับ รถใช้งานทั่วไปถึงงานหนัก ผ้าเบรกมีส่วนผสม ของโลหะในอัตราที่ต่ำ จุดเด่น คือ เบรกนุ่ม มีเขม่าน้อย ไม่มีเสียงรบกวนและถนอมจานเบรก(ในประเทศไทย พบน้อยกว่า 20% ของผ้าเบรกทั้งหมด เช่น ผ้าเบรกอะไหล่แท้เกรด 1 และผ้าเบรกอาเคโบโน)



2) ผ้าเบรกเพื่อใช้งานหนัก
เหมาะสำหรับ รถใช้์เพื่อการขนส่งหรืองานหนัก ผ้าเบรกมี ส่วนผสมของโลหะในอัตราที่สูง จุดเด่น คือ ระยะเบรกสั้น(เบรกแข็ง) มีเสียงรบกวนบ้าง มีอัตราการทำลายจานเบรกสูง และมีเขม่าดำ (ในประเทศไทย พบมากกว่า 30 %ของจำนวนผ้าเบรกทั้งหมด)

 

 
3)ผ้าเบรกเนื้อใยหิน

ผ้าเบรกชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทยทั้ง ในกรุงเทพและต่างจังหวัด
สารประกอบหลักคือใยหินซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบัน ยังไม่ม ีกฏหมายห้ามการผลิตและการจำหน่าย จึงมีการจัดจำหน่ายอย่างเสรีในขณะที่หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เจริญแล้ว งดการใช้และการนำเข้าอย่างเข้มงวด



 

Share

สาระน่ารู้เรื่องเบรครถยนต์